1.Quantum Computing
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่ที่อาศัยปรากฏการณ์เชิงควอนตัมในการช่วยประมวลผลข้อมูล (Quantum Computing) อาจจะยังไม่เป็นที่พูดถึงเท่าไร แต่เทคโนโลยีนี้กำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยการที่ Quantum Computing สามารถประมวลผลที่เร็วกว่าคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปอย่างมหาศาล เทคโนโลยีนี้มีการนำมาใช้จัดการการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่นเดียวกับการพัฒนาวัคซีน ในอนาคตคาดการณ์ว่าเราจะได้เห็นกรณีศึกษาในหลากหลายอุตสาหกรรมในอนาคต เนื่องจากผู้คนเริ่มตระหนักถึงความสามารถอันทรงพลังของ Quantum Computing มากขึ้น
2.Cybersecurity
Cybersecurity หรือ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เริ่มได้รับการพูดถึงน้อยลง จนกระทั่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ Cybersecurity กลับมาได้รับการพูดถึงอีกครั้ง เนื่องจากเหล่าแฮกเกอร์ได้ใช้โอกาสที่คนทำงานออนไลน์จากบ้านในการโจมตีธุรกิจต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องจากฐานข้อมูลทั่วโลก ซึ่งในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน 2563 การโจมตีข้อมูลธนาคารเพิ่มสูงถึง 238% และการโจมตีผ่านระบบคลาวด์เพิ่มสูงถึง 600%
การที่คนเริ่มทำงานที่ออฟฟิศน้อยลง และทำงานที่บ้านมากขึ้น ทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องกลับมายกระดับกลยุทธ์ด้าน Cybersecurity เพื่อรองรับอุปกรณ์และเครือข่ายในการ Work from Home นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ Cloud เพิ่มความพยายามในการทำให้สินค้าและบริการ มีความมั่นคงปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
3.Customer Data Platform
Customer Data Platform หรือ CDP เป็นระบบที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้า และนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้งานต่อที่หลากหลาย เช่น วิเคราะห์หา Customer Insight ทำให้ Brand สามารถทำการตลาดเฉพาะบุคคล (Personalized Marketing) ได้แม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่ง CDP ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา การที่องค์กรมีข้อมูลกระจัดกระจายอยู่หลายแหล่ง ซึ่งบริหารจัดการยาก ทำให้บริษัทไม่สามารถตอบสนองลูกค้าได้ทันท่วงที CDP เข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ โดยการรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่มา จัดระเบียบ แยกหมวดหมู่ และทำให้ทุกคนที่ต้องการเข้าถึงสามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้บริหารข้อมูลลูกค้าได้แบบ 360 องศา จากที่เห็นในปัจจุบันว่าข้อมูลมีปริมาณเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด และไม่มีท่าทีจะหยุดในเร็ว ๆ นี้ ทำให้ CDP จะกลายเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน
4.เทคโนโลยี AI
การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการใช้ Data, AI มากยิ่งขึ้นในทุกภาคส่วน ในขณะที่หลายคนอาจจะรู้สึกว่า AI คือเทรนด์แห่งอนาคต ในความจริงแล้ว AI นั้นอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว สังเกตจากสิ่งที่เราเห็นบนโซเชียลมีเดีย หรือการที่ Netflix สามารถแนะนำภาพยนตร์ที่เหมาะกับเรา ล้วนเกิดจาก AI ทั้งสิ้น
ในอนาคต AI จะมีผลต่อการซื้อ การบริโภค การจ้างงาน และความบันเทิง โดยได้รับอิทธิพลจากข้อมูลจำนวนมหาศาล และความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ ซึ่งไม่ต้องสงสัยว่า AI จะเติบโตในอนาคตอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าปัจจุบัน ท้ายที่สุดแล้ว AI จะต้องไดัรับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในเชิงบวกเท่านั้น
5.เทคโนโลยี 5G
เรามักจะได้ยินการพูดถึงประโยชน์ของ 5G บ่อยครั้ง แต่ยังไม่เห็นว่าสำคัญ จนกระทั่งในปี 2563 ที่ผ่านมา ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 การทำงานหรือเรียนออนไลน์ การประชุมออนไลน์ และการทำงานร่วมกันออนไลน์ จึงเป็นสิ่งจำเป็น อีกทั้งธุรกิจปัจจุบันยากที่จะอยู่ได้โดยไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพราะฉะนั้น เทคโนโลยี 5G สามารถตอบโจทย์ความต้องการการเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้ และรวดเร็วยิ่งขึ้นได้ จึงมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมยิ่งขึ้นในปี 2564
Digital Disruption
1.Microsoft
เปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจเป็น cloud-based platform-as-a-service จากเดิมที่ขายสินค้า, ลิขสิทธิ์ (Licensees/IP) และอุปกรณ์ต่างๆ
2.Amazon
จากการเป็นร้านขายหนังสือออนไลน์ร้านแรก ๆ ของโลก สู่การเป็นแพลตฟอร์มร้านค้าช้อปปิ้งออนไลน์ยอดนิยมอีกแห่งหนึ่งของโลก
ต่อมา Amazon ก็ได้ให้บริการ Amazon Web Services (AWS) ที่เป็นแพลตฟอร์มระบบ Cloud สาธารณะและบริการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) อีกด้วย ซึ่งบริการนี้เกิดมาจากการที่ Amazon ได้พบปัญหาในการขยายขนาดระหว่างที่กำลังพัฒนาบริการแอปพลิเคชันขึ้นมาใหม่
ทำให้ Amazon ต้องวาง Database และรื้อโครงสร้างซอฟต์แวร์ใหม่ทั้งหมด (จากเดิมที่เป็นแบบ Monolithic มาเป็น Microservices) เมื่อ Amazon ปรับโครงสร้างของตัวเองสำเร็จ บริษัทก็เริ่มเปิดให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (Infrastructure) และระบบการจัดเก็บข้อมูลขององค์กร (Storage) เพื่อรองรับการใช้งานซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันให้กับกิจการเทคโนโลยีอื่น ๆ
จนปัจจุบัน AWS กลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจหลักของ Amazon หรือที่เราเรียกว่า IaaS นั่นเอง และสร้างกำไรจำนวนมหาศาล ซึ่ง Amazon เองก็ต่อยอดธุรกิจด้วยการสร้าง Ecosystem ของตัวเองที่ประกอบไปด้วยสินค้าและบริการต่าง ๆ อีกมากมายอีกด้วย
ภาพจาก dunhamconnect
3.Adobe
สำหรับธุรกิจหลักของ Adobe เดิมที่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายระบบซอฟต์แวร์เอกสารและการสร้างสรรค์ ที่เราคุ้นเคยกันดีในสายงานกราฟิก รูปภาพ หรือวิดีโอ เช่น Adobe Photoshop, Adobe Illustrator, Adobe Lightroom, Adobe Premiere Pro และอื่น ๆ อีกมากมาย
โดยเมื่อก่อน Business Model ของ Adobe จะเป็น Adobe Creative Suite (CS) คือ จ่ายเงินครั้งเดียวสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้ตลอดเลย แต่ข้อเสีย คือ ต้องซื้อซอฟต์แวร์แยกตามความต้องการในการใช้งานของเรา ทำให้มีราคาสูงมาก ถ้าอ้างอิงจากตัว Adobe CS6 Master Collection มีราคาหลายหมื่นบาทเลยทีเดียว (ถ้าใครที่ไม่ใช่สายกราฟิก ซื้อมาใช้งานไม่กี่ครั้ง เรียกว่าไม่คุ้มเลย)
ภาพจาก marketingoops
แต่ภายหลัง Adobe ได้เปลี่ยนตัวเองมาสู่ Adobe Creative Cloud (CC) เป็นแบบ Subcription ซึ่งข้อดี คือ ทำให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้หลายซอฟต์แวร์ โดยจ่ายในราคาที่ถูกกว่าแบบ Adobe CS ด้วยราคาเริ่มต้นที่เดือนละ 350 บาท (ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแพ็กเกจที่เราเลือกใช้ด้วย)
ภาพจาก filmeditingpro
นอกจากนั้น Adobe เองก็ได้เปลี่ยนมาเป็นผู้นำในการให้บริการด้านต่าง ๆ ผ่านในรูปแบบ Cloud Computing อีกด้วย อย่างในด้านของ Digital Experiences, Marketing, แพลตฟอร์ม E-Commerce และ Analytics ด้วยโมเดล Subscription เช่น Adobe Marketing Cloud หรือ Magento เป็นต้น
เราจะเห็นได้ว่า เมื่อก่อนถึงแม้ว่าตัว Adobe จะเป็นผู้ให้บริการทางด้านเป็นซอฟต์แวร์อยู่แล้ว แต่องค์กรก็ปรับวิธีคิดว่าในอนาคตมันควรเข้าสู่ระบบ Cloud จนเกิดเป็นรูปแบบ SaaS อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
4.WooCommerce
เป็นแพลตฟอร์มการสร้างหน้าร้านออนไลน์ที่มี Plug-in ให้ใช้งานเยอะที่สุด ซึ่งนั่นจะทำให้เว็บไซต์ของเรามีลูกเล่นที่หลากหลายน่าใช้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีคนใช้ WooCommerce มากกว่า Shopify และ Magento เสียอีก
ส่วนใครที่ใช้งาน WordPress อยู่แล้ว WooCommerce ก็สามารถเสกให้หน้าเว็บธรรมดา ๆ ของคุณกลายมาเป็นหน้าแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ได้เต็มรูปแบบ ตั้งแต่ระบบสินค้า การขาย สต็อกสินค้า โปรโมชั่น และการจ่ายเงิน เป็นต้น โดยสามารถดาวน์โหลดฟังก์ชั่นพื้นฐานจาก WooCommerce มาใช้ได้เลย ที่สำคัญ ฟรีไม่เสียเงินอีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม การใช้งานฟรีนั้นทางร้านค้าจะต้องมาต่อกับระบบ Payment Gateway เอง ซึ่งมี Plug-in ให้ต่อแบบอัตโนมัติได้
ภาพจาก wordpress
5.Omise
Omise คือ Payment Gateway เต็มรูปแบบสำหรับการจัดการการชำระเงินออนไลน์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่จะทำให้ระบบจ่ายเงินบนร้านค้าออนไลน์ของเราง่ายขึ้น โดยไม่ต้องชำระผ่านธนาคาร ซึ่งถ้าเราใช้ระบบนี้ ลูกค้าของเราจะสามารถชำระเงินผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ผ่านบัตรเครดิต/เดบิต พร้อมเพย์ ทรูมันนี่วอลเล็ท และอาลีเพย์ (เพราะเขาได้เข้าไปเป็นพาร์ทเนอร์กับ Alibaba เรียบร้อยแล้ว) เป็นต้น
นอกจากนั้น Omise ยังมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า โดยการชำระเงินจะเริ่มต้นและสิ้นสุดบนเว็บไซต์ของลูกค้าเลย จะไม่มี Pop-up หรือโยกย้ายไปอีกเพจที่ทำให้ลูกค้าเสียสมาธิ หรือถ้าเกิดในระหว่างโหลดหน้าชำระเงินเกิดความล่าช้า จะทำให้ลูกค้าปิดหน้านั้นลงไปในที่สุด และไม่อยากเสียเงินให้กับร้านค้าของเรา
นอกจากนั้น Omise ก็มีเทมเพลตแบบฟอร์มการชำระเงินมาให้เลือกใช้ โดยที่เราไม่ต้องสร้างขึ้นมาเอง และที่เจ๋งสุด ๆ ถ้าเรามีลูกค้าจากทั่วโลก ลูกค้าก็สามารถจ่ายเงินได้ด้วยสกุลเงินที่พวกเขารู้จักดีที่สุดได้
Omise ใช้งานได้บนแพลตฟอร์ม Shopify, WooCommerce
ที่มา:https://www.pangpond.com/digital-transformation
:https://www.thaibusinesssearch.com/marketing/digital-disruption/